1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
เป็นต้นแบบให้กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับอื่น ๆ ที่เรียกว่ากฎหมายลูก
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของ รัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ พระราชกำหนด
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของ รัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ พระราชกำหนด
พระราชกำหนด หรือรัฐกำหนด
ใช้ได้ทั้งพระราชกำหนดและรัฐกำหนด; หรือ royal
ordinance สำหรับพระราชกำหนด) เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อ
ประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ
พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา คือ
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน
โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
เทศบัญญัติคือ กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล
พศ.2496 ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล
หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
พ.ศ.2542
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในปัจจุบันยังขาดความชอบธรรมในรัฐธรรมนูญ
เพราะมีการเปลี่ยนกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม
โดยเฉพาะการแก้เพื่อแทรกแซงสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งขาดความชอบธรรมเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถแก้ได้ก็ต่อเมื่อเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและเพื่อความภาสุขของบ้านเมืองไม่ใช่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวายและมีความขัดแย้งกัน
ส่วนในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงที่สุดคือ การกำหนดสิทธิและเสรีภาพการอยู่ร่วมของสังคมภายในประเทศและมีกฎเกณฑ์ที่วางระเบียบและกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อให้เกิดความสงบสุข
หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญเราก็จะไม่มีกฎเกณฑ์
ข้อบังคับและทำให้บ้านเมืองวุ่นวายและไม่เป็นระเบียบ
3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ
แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ ไม่เห็นด้วยเพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของบุคคลกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
ไม่ใช่การแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอีกทั้งเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นชนวนทำให้เกิดความขัดแย้งและคามไม่สงบทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ซึ่งไม่ควรแก้เป็นอย่างยิ่ง
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร
และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ สำหรับปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวดิฉันคิดว่าจำเป็นต้องมีนักโบราณคดีที่เข้าไปศึกษาและยืนยันว่าเป็นเขตแดนของไทยให้ชัดเจนและมีหลักฐานยืนยัน
อีกทั้งนำไปฟ้องให้ศาลโลกได้รับรู้และยุติกรณีความขัดแย้งดังกล่าว
5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ เห็นด้วยว่าพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา
เพราะทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาและรัฐธรรมนูญการศึกษา
จะเป็นกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งสิ้น
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมายการศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพภายใน การประกันคุณภาพภายนอก ผู้สอน ครู คณาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมายการศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพภายใน การประกันคุณภาพภายนอก ผู้สอน ครู คณาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
ตอบ การศึกษา คือ
วิธีการซึ่งส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง
เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal
Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal
Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal
Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self
- directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง
และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ หมายถึง
การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรง ชีวิต ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา
การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข การสำเร็จการศึกษา
โดยเนื้อหาและหลักสูตร จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
สถานศึกษา หมายถึง
หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง
สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ
ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลัก
ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล
และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล
สถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายถึง บุคลากร
ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา
ของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง
บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง
ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน
การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน
การจัดการศึกษา อย่างไร
การจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ
ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ความรู้และคุณธรรมอีกทั้งมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข"
การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนร่วมและมีหลักการสำคัญของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ 3 ข้อ ซึ่งจำเป็นต้องขอขยายความดังนี้
1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ ถือว่าผิดตาม พรบ.เพราะว่า เพราะว่าพรบ.ได้กล่าวไว้ว่า
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วผู้ที่เข้ามาให้ความรู้เป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษาได้
แต่ไม่สามรถสอนได้ประจำ ซึ่งถ้าทำผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 78
9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ 1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูพ.ศ. 2547
2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
5. มีใจรักในงานบริการการการเรียนการสอน
รักเด็ก และรัก ศรัทธาในวิชาชีพครู
6. ต้องเป็นคนเก่ง
คนดี มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาตนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง
ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม
และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก
วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม
และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก
วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ สำหรับความคิดเห็นในรายวิชานี้
ถือว่าเป็นวิชาที่เรียนในรูปแบบที่ทันสมัยทำให้นักศึกษารู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี
และสะดวกสบายต่อการเรียนรู้อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่าย และการใช้ weblog ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรนำไปใช้อย่างยิ่งกับการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
และสำหรับน้ำหนักวิชานี้ดิฉันให้ 95% และคิดว่าตนเองจะได้เกรด A ในรายวิชานี้
No comments:
Post a Comment