Total Pageviews

Sunday, September 8, 2013

กิจกรรมที่ 2



1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ประเด็นที่น่าสนใจจากการอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีดังต่อไปนี้
มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
1.การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตราที่  4   ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ  เสรีภาพ  และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตราที่  5   ประชาชนชาไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด  เพศ  หรือศาสนาใด  ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน      
มาตราที่  51  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน  และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
          บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์
มาตราที่  52  เด็กและเยาวชนมีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา  ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนรวมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม  ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
 สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญ คือ ประเด็นในหมวดที่ 3  สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวดที่ 4 หน้าที่ของชนชาวไทยและหมวดที่ 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งจะอยู่ในแต่ละส่วนดังต่อไปนี้
หมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 6 สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
มาตราที่43  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตราที่ 49  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก  ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน  การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง  และการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ย่อมได้รับความคุ้มครองละส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตราที่ 50  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม  การเรียนการสอน  การวิจัย  และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง  ทั้งนี้  เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
 หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 74  บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งละเลยหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง บุคคลผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิขอให้บุคคลตามวรรคหนึ่งหรือผู้บังคับบัญชาของบุคคลดังกล่าว ชี้แจง แสดงเหตุผล และขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้
หมวดที่ 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งชาติ
ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม 
มาตรา 80  รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
(1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
(2) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน  รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข  โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
(3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
          (4) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
(5) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
(6) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึกและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
1. รัฐสภา เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
         2. สภาผู้แทนราษฎร เช่น สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างไร เป็นต้น
3.สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา เช่น บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
4. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิ์การจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
5.การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
6.การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
7.สาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
8.รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
9.การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
10.การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฏหมายสูงสุดที่เราจำเป็นต้องรับรู้และทำความเข้าใจอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่เราควรปฏิบัติตามอย่างยิ่งเพราะรัฐธรรมนูญเปรียบเสมือนกับกรอบหรือแนวทางที่ทำให้เราอยู่ในกฏระเบียบที่ชี้ทางว่าอะไรควรทำหรือไม่ อีกทั้งยังเป็นแนวทางที่ทำให้เราอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุขหากเราได้ปฏิบัติตนตามกฏหมายและอยู่ในกรอบที่ได้กำหนดไว้
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
รัฐธรรมนูญในบางส่วนควรที่จะแก้ไขถ้าหากว่ายังไม่สมบูรณ์แบบและที่สำคัญคือแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนรวมแต่ไม่ใช่การแก้ไขเพื่อผลประโยชน์ของเฉพาะกลุ่มหนึ่ง สำหรับการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชากรบางกลุ่มอาจจะเกิดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล หรือคนกลุ่มหนึ่ง ที่อาจเป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบในปัจจุบัน และสมควรที่จะคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอย่างยิ่ง
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว คือทั้ง 3 อำนาจนั้นมีความสำคัญเท่าๆกันและทั้ง 3อำนาจนี้จะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนคนไทย แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีเพียงอำนาจตุลาการซึ่งใช้อำนาจในพระปรมาภิไธยเท่านั้นที่มีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่พิพากษาถรรถคดี ในขณะที่อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภากลับ ตกเป็นเบี้ยล่างของอำนาจบริหารหรือรัฐบาลมาโดยตลอดการเสียดุลยภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารได้สร้างปัญหาทางการเมืองการ ปกครองจนเกิดวิกฤตขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า หากปล่อยให้ปัญหานี้ดำรงคงอยู่โดยไม่มีการแก้ไขการเมืองไทยก็จะล้มลุกคลุกคลานไม่มีที่สิ้นสุดและฉุดรั้งไม่ให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า
ดังนั้นการสร้างดุลถ่วงระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารเป็นความจำเป็นที่จะต้องทำให้มีขึ้นหากปล่อยให้รัฐสภาตกอยู่ในภายใต้การครอบงำของรัฐบาลไปเรื่อยๆสุดท้ายรัฐสภาก็จะหมดความสำคัญ ซึ่งนอกจากจะขัดต่อเจตจำนงของการมีรัฐสภา แล้วยังก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอีกด้วย เพราะโดยหลักแล้ว รัฐสภาต้องควบคุม รัฐบาลให้ได้ ถ้าควบคุมไม่ได้ ประชาชนก็จะเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อขับไล่เอง และในที่สุด รัฐสภาก็จะอยู่ไม่ได้ ด้วยเหตุที่นายกรัฐมนตรีแกล้งยุบสภาหรือไม่ก็ถูกทหารเข้าปฏิวัติ ยึดอำนาจ