Total Pageviews

Saturday, February 9, 2013

ข้อสอบปลายภาค


1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด 
   พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ 
                  กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ  กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นต้นแบบให้กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับอื่น ๆ ที่เรียกว่ากฎหมายลูก
                พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของ รัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ พระราชกำหนด 
                พระราชกำหนด หรือรัฐกำหนด ใช้ได้ทั้งพระราชกำหนดและรัฐกำหนดหรือ royal ordinance สำหรับพระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อ ประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ 
                พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด 
                เทศบัญญัติคือ   กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พศ.2496 ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร       
   ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
   เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในปัจจุบันยังขาดความชอบธรรมในรัฐธรรมนูญ เพราะมีการเปลี่ยนกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะการแก้เพื่อแทรกแซงสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งขาดความชอบธรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถแก้ได้ก็ต่อเมื่อเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและเพื่อความภาสุขของบ้านเมืองไม่ใช่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวายและมีความขัดแย้งกัน ส่วนในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงที่สุดคือ การกำหนดสิทธิและเสรีภาพการอยู่ร่วมของสังคมภายในประเทศและมีกฎเกณฑ์ที่วางระเบียบและกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อให้เกิดความสงบสุข   หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญเราก็จะไม่มีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับและทำให้บ้านเมืองวุ่นวายและไม่เป็นระเบียบ
3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ
   แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ ไม่เห็นด้วยเพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของบุคคลกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่การแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอีกทั้งเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นชนวนทำให้เกิดความขัดแย้งและคามไม่สงบทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งไม่ควรแก้เป็นอย่างยิ่ง
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ สำหรับปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวดิฉันคิดว่าจำเป็นต้องมีนักโบราณคดีที่เข้าไปศึกษาและยืนยันว่าเป็นเขตแดนของไทยให้ชัดเจนและมีหลักฐานยืนยัน อีกทั้งนำไปฟ้องให้ศาลโลกได้รับรู้และยุติกรณีความขัดแย้งดังกล่าว
5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ เห็นด้วยว่าพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา เพราะทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาและรัฐธรรมนูญการศึกษา จะเป็นกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งสิ้น
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมายการศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
ตอบ    การศึกษา คือ วิธีการซึ่งส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
การศึกษาตลอดชีวิต  หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรง ชีวิต ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
สถานศึกษา หมายถึง หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน  หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก  หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู  หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายถึง บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา  หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน
   การจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมอีกทั้งมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนร่วมและมีหลักการสำคัญของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ 3 ข้อ ซึ่งจำเป็นต้องขอขยายความดังนี้
          1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ ถือว่าผิดตาม พรบ.เพราะว่า เพราะว่าพรบ.ได้กล่าวไว้ว่า  ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
 ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วผู้ที่เข้ามาให้ความรู้เป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษาได้ แต่ไม่สามรถสอนได้ประจำ ซึ่งถ้าทำผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 78
9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ          1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูพ.ศ. 2547
                2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
                3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
                4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
                     5. มีใจรักในงานบริการการการเรียนการสอน รักเด็ก และรัก ศรัทธาในวิชาชีพครู
                     6. ต้องเป็นคนเก่ง คนดี มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาตนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง
     ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม
     และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก
     วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ สำหรับความคิดเห็นในรายวิชานี้ ถือว่าเป็นวิชาที่เรียนในรูปแบบที่ทันสมัยทำให้นักศึกษารู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี และสะดวกสบายต่อการเรียนรู้อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่าย และการใช้ weblog ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรนำไปใช้อย่างยิ่งกับการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา และสำหรับน้ำหนักวิชานี้ดิฉันให้ 95% และคิดว่าตนเองจะได้เกรด A ในรายวิชานี้



Tuesday, February 5, 2013

กิจกรรมที่ 9



ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาแล้วตอบคำถามต่อไปนี้
1.  เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ  การศึกษาเป็นกระบานการหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มรคุณภาพเพื่อความสมบูรณ์และเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สังคม อารมณ์และจิตใจในการดำรงชีวิต เมื่อการศึกษานับเป็นกระบวนการพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาคน ดังนั้นประชากรในประเทศไทยนั้นก็ได้มีกฎหมายเฉพาะที่ตราโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้และสนับสนุนสิทธิทางด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
2.  ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
ตอบ          ก. ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
                ข. เด็ก  หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก
                ค. การศึกษาภาคบังคับ  หมายความว่า  การศึกษาปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                ง. องก์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หมายความว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
3.  กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบ การที่ผู้ปกครองไม่ส่งตามที่กฎหมายฉบับที่ 6 นั้น กำหนดจะต้องถูกลงโทษโดยการปรับเงินไม่เกินหนึ่งพันบาท และในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเจตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบ เด็ก แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา
4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีทั้งหมด 21 ข้อ
ตอบ   อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในกฎหมาย คือ จัดการศึกษา บำรุงศาสนา สืบสานศิลปวัฒนธรรม การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วน คือส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนขอข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึงคุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ หน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ ตีความและวินิจฉัยชี้ขาด การจัดระเบียบบริหารราชการการส่วนกลาง ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรงศึกษาธิการ ประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการรัฐมนตรี รองเลขาธิการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง ติดตาม ประเมินผลนโยบายตามภารกิจ หน่วยงานระดับกระทรวงศึกษาธิการ กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคือ การศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมินผลการบริหารและการดำเนินงาน บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา ประสาน ส่งเสริมการจัดการศึกษา ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษา ระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาได้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้จัด หน่วยงานอื่นสามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบการจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามรถ พิเศษ การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพได้