Total Pageviews

Tuesday, January 8, 2013

ทดสอบกลางภาค

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของประชากรในประเทศนั้นๆหรือสังคมนั้น โดยผู้มีอำนาจในสังคมดังกล่าวเป็นผู้บังคับให้บุคคลคนหนึ่งได้ปฏิบัติหรืองดปฏิบัติ หากบุคคลใดฝ่าฝืนก็ได้รับการลงโทษตามที่กำหนดไว้
ตอบการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าการที่ประชาชนได้รับใช้กฏหมายที่เสมอภาคและมีสิทธิเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการแบ่งแยกชนชั้นหรือสถานะของแต่ละบุคคล อาทิ อาชีพ ภาษา การศึกษา ฐานะ เป็นต้น และเลือกปฏิบัติใช้กับบุคคลบางกลุ่มที่อาชีพ การศึกษา ฐานะที่ดีกว่า
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วย เพราะที่ผ่านมาครูโดยส่วนใหญ่ไม่ได้จบทางด้านวิชาชีพครูโดยเฉพาะทำให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของไทย เพราะถือว่าครูดังกล่าวไม่ได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพครูโดยตรง ซึ่งการที่ครูทุกคนควรที่จะมีใบประกอบวิชาชีพนั้นเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะสามารถยกระดับการศึกษาไทยให้ดีขึ้น และยังเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าครูดังกล่าวได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทางอย่างสมบูรณ์และมีความพร้อมที่จะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาของไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ โดยการสมทบทุนและตั้งกองทุนบริจาคเพื่อก่อตั้งห้องสมุดประชาชน และรับบริจาคหนังสือทุกประเภทที่สามารถให้ความรู้แก่ผู้ที่มาใช้บริการและให้ชุมชนได้มีโอกาศในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาท้องถิ่นในสถานศึกษาและให้ผู้เกี่ยวข้องในการศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบ
มีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ มาตรา15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ
มาตรา16 การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษาการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญาการแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การใช้คำว่า"อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย" ก็เพื่อจะให้ครอบคลุม
การศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว
เป็นการให้ความสำคัญแก่การศึกษาระดับนี้ที่ถือกันว่าเป็นกำลังคนระดับกลางและพื้นฐานของ
การพัฒนาเศรษฐกิจ
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียน แต่เป็นสิทธิ ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยก
ตัวอย่าง
ตอบ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และมีหัวหน้าส่วนราชการดังนี้
1.สำนักงานปลัดกระทรวง หัวหน้าคือ ปลัดกระทรวง
2.ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีดังนี้
สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
            สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
            สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
           สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครูผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพรวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อ
1. พัฒนาวิชาชีพครูตามมาตรา 81ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา 9 (4) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
2. เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครูพุทธศักราช 2488 เป็นองค์กรวิชาชีพครูตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และให้เป็นไปตามมาตรา 73โดยกำหนดให้มี
2.1 สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเรียกชื่อว่า “คุรุสภา” มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพและการพัฒนาวิชาชีพ
2.2สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและ
3. เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด 
ตอบ ถือว่าเขากระทำความผิด เพราะห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถาน
ที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
จากข้อกฎหมายข้างต้นหากถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราวโดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษานั้นจะไม่ผิดต่อตัวกฏหมาย แต่ถ้าหากสอนเป็นประจำโดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพจะผิดกฎหมาย
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 
ตอบโทษทางวินัยคือ บุคคลที่เป็นข้าราชครูหรือบุคคลากรทางการศึกษาที่ฝ่าฝืนหรือกระทำผิดตามระเบียบแบบแผนที่ข้าราชการต้องประพฤติปฏิบัติและได้รับการลงโทษทางวินัยมี ซึ่งมี5 สถานดังนี้
1) ภาคทัณฑ์
2) ตัดเงินเดือน
3) ลดขั้นเงินเดือน
4) ปลดออก
5) ไล่ออก   
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจ
ตอบ เด็กหมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง
เด็กเร่ร่อนหมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาดูแลและใช้ชีวิตเร่ร่อนในสถานทีต่างๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมเร่ร่อนจนน่าเกิดอันตรายได้
เด็กกำพร้าหมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต และยังไม่บรรลุนิติภาวะอีกทั้งยังคงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบากหมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดหมายความว่า เด็กที่อยู่ในแวดล้อมที่กระทำผิดกฏหมายอาจจะถูกชักชวนทำผิดกกหมายจากแวดล้อมดังกล่าว หรือมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่สามารถนำไปสู่การทำผิดกฏหมาย
ทารุณกรรมหมายความว่า การกระทำใดๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

No comments:

Post a Comment